การจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย

         การจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้นการถ่ายภาพนั้นไม่ใช่เพียงแค่การยกกล้องมากดถ่ายภาพเท่านั้น แต่มันยังมีเรื่องราวของศิลปะแฝงอยู่ภายในมากมายซึ่งแน่นอนอันดับแรกเราต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมกล้อง ควบคุมแสงสีต่างๆ ตลอดจนรวมไปถึงความไวชัตเตอร์และรูรับแสง แต่เพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอที่จะสร้างภาพถ่ายที่สวยงามได้ การควบคุมกล้องให้ได้อย่างใจนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรกและเมื่อเรามีความชำนาญที่มากพอแล้วนั้น ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมซึ่งไม่ว่าเราจะใช้กล้องแบบใดก็ตามจะเป็น Cybershot หรือว่า Alpha สิ่งนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ตลอด สิ่งที่เรากำลังพูดถึงนั้นก็คือ “การจัดองค์ประกอบภาพ”


กฎสามส่วน

กฎนี้เป็นกฎง่ายๆของการจัดองค์ประกอบภาพสำหรบการถ่ายภาพ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในการถ่ายภาพทิวทัศน์นั้นเรามักชอบที่จะวางเส้นขอบฟ้าเอาไว้ตรงกลางภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรามีวิธีที่จะวางเส้นขอบฟ้าไว้ที่อื่นเพื่อที่จะทำให้ภาพนั้นน่าสนใจมากขึ้นได้ ซึ่งโดยหลักการแล้วนั้นให้เราทำการแบ่งพื้นที่ในภาพออกเป็นสามส่วน บน กลาง และด้านล่าง จากนั้นให้วางเส้นขอบฟ้าค่อนไปทางด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ ให้ท้องฟ้ากินพื้นที่ 1 หรือ 2 ส่วนก็ได้แล้วแต่สถานะการณ์ ซึ่งเราจะได้ภาพลักษณะที่เป็นดินสองส่วนฟ้าหนึ่งส่วน หรือฟ้าสองส่วนดินหนึ่งส่วนก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่น่าสนใจกว่าการแบ่งภาพแบบครึ่งๆ

จุดตัด 9 ช่อง

สำหรับภาพที่มีจุดสนใจในภาพนั้น โดยปกติแล้วเรามักจะวางจุดสนใจกันเอาไว้กลางภาพ ซึ่งในหลายๆครั้งจุดสนใจนั้นจะถูกลดความน่าสนใจลงไปเนื่องจากโดยส่วนอื่นๆบริเวณรอบข้างดึงความสนใจไป เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้กฎที่เรียกว่า “จุดตัด 9 ช่อง” โดยให้ทำการแบ่งภาพทั้งหมดเป็น 9 ช่อง แล้วเลือกวางจุดสนใจในบริเวณที่เป็นจุดที่เส้นแบ่งนั้นตัดกันซึงจะมีทั้งหมด 4 จุดด้วยกัน การวางจุดสนใจในภาพไว้ในลักษณะนี้นั้นจะทำให้จุดสนใจในภาพนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเด่นชัดมากยิ่งขึ้นดังภาพด้านล่าง
เส้นนำสายตาในบางครั้งการวางจุดสนใจในภาพอาจไม่ได้วางตามจุดตัด 9 ช่องก็ได้ แต่เราจะมีวิธีอื่นที่สร้างให้จุดนั้นๆกลายเป็นจุดสนใจในภาพได้โดยการ ใช้เส้นนำสายตาซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมนุษย์เราเห็นเส้นอะไรสักอย่างมักจะมองตามไปเสมอ และการมองตามเส้นนั้นๆไปจะดึงให้สายตาของผู้มองนั้นมองตามไปจนเจอกับจุดสนใจในภาพที่เราวางไว้ เส้นนำสายตานั้นจะเป็นอะไรก็ได้ในภาพที่มีลักษณะเป็นเส้น เช่น ถนน ขอบรั้ว หรืออะไรก็ได้ไม่จำกัดขอให้มีลักษณะเป็นเส้น และให้เส้นเหล่านั้นชี้ไปยังจุดสนใจที่เราได้ทำการวางเอาไว้ จะทำให้จุดสนใจในภาพที่เราวางเอาไว้เด่นขึ้นมาในทันที
การเหลือพื้นที่ในหลายๆครั้งนั้นเราจะพบปัญหาเกี่ยวกับพื้นทีส่วนอื่นๆในภาพว่าเราควรจะเหลือส่วนไหนอย่างไรดี หลักการนี้ก็เป็นหลักการง่ายๆโดยให้เราทำการเหลือพื้นที่ด้านเดียวกับจุดสนใจในภาพเพื่อให้คนดูภาพไม่รู้สึกอึดอัด เช่นถ้าหากหน้าคน รถ หรือว่าอะไรก็ตามหันไปทางไหนให้เราเหลือพื้นที่บริเวณนั้นเอาไว้ เพื่อให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัดและยังเหลือที่ว่างให้คิดหรือจินตนาการต่อได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป หลักการนี้เป็นหลักการง่ายๆที่ทำให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัด แต่ถ้าหากภาพนั้นต้องการสื่อถึงอารมณ์ให้รู้สึกอึดอัดก็ไม่จำเป็นต้องเหลือพื้นที่ก็ได้ แล้วแต่ว่าเราต้องการบอกอะไรคนดู
ใส่กรอบให้กับภาพหลักการนี้เป็นหลักการสร้างจุดสนใจให้กับภาพอีกอย่างหนึ่ง โดยให้เราหารอบประตูหน้าต่าง หรืออะไรก็ได้ที่มีลักษณะเป็นกรอบอาจจะสองด้านหรือว่าสี่ด้านก็ได้ แล้วจากนั้นก็นำจุดสนใจในภาพไปใส่ไว้ในกรอบนั้นๆ ผู้ชมภาพจะถูกบีบด้วยกรอบที่ซ้อนอยู่ในภาพให้มองไปยังจุดสนใจที่เราวางเอาไว้ ซึ่งจะเป็นการทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นอีกทางหนึ่งได้

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น