เทคนิคการถ่ายภาพน้ำตกให้ฟุ้ง

                การถ่ายภาพน้ำตก มิใช่เรื่องยากอะไรนัก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายซะทีเดียวหากผู้ถ่ายภาพไม่ได้ต้องการภาพน้ำตกให้ออกมา เหมือนภาพถ่ายทั่ว ๆ ไปที่กล้องประเภทพกง่ายถ่ายสะดวกก็ถ่ายได้ หากต้องการภาพน้ำตกสวย ๆ ผู้ถ่ายภาพต้องรู้วิธีเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ การควบคุมช่องรับแสง วัดแสงให้ถูกต้องกับภาพที่ต้องการ ที่เหลือคือเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การใช้ฟิลเตอร์ การจัดองค์ประกอบภาพ หรือการรอจังหวะแสง ก็จะได้ภาพน้ำตกสวย ๆ กลับมาเชยชม

1. การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ หลักการพื้นฐานคือ ความเร็วชัตเตอร์สูงจะหยุดสายน้ำให้นิ่ง ส่วนความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะทำให้สายน้ำดูพลิ้วไหวและนุมนวนเป็นหลัก จะเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับใดขึ้นกับว่าช่างภาพต้องการให้สายน้ำออกมา เป็นอย่างไรเป็นสำคัญ สายน้ำนุ่มๆ จะทำให้น้ำตกดูเล็ก ไม่แข็งกร้าว เหมาะกับน้ำตกที่มีน้ำไม่มากเกินไปนัก ส่วนความเร็วชัตเตอร์สูงทำให้น้ำตกดูรุนแรง เหมาะกับน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีพลังมากๆ
การจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้นปกติผมจะถ่ายภาพน้ำตกแบบเรียบง่าย ไม่เน้นมุมภาพที่โลดโผน มักจะเน้นไปที่แสง ให้น้ำตกดูสวยดังตาเห็น ถ่ายทอดความประทับใจผ่านภาพถ่ายมากกว่า การถ่ายภาพน้ำตก โดยปกติจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ ถ่ายภาพให้เห็นน้ำตกเต็ม ๆ ภาพ ถ่ายภาพน้ำตกโดยมีฉากหน้าประกอบ และถ่ายเจาะเฉพาะส่วนของน้ำตกที่น่าสนใจ

ระดับความเร็วชัตเตอร์ที่ทำให้สายน้ำหยุดนิ่งหรือพลิ้วไหวไม่สามารถระบุออก มาได้ว่าเป็นเท่าไร เพราะขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ปริมาณน้ำ ความเร็วของสายน้ำ เลนส์ที่ใช้ เป็นต้น ถ้าสายน้ำไหลเร็ว รุนแรง น้ำมีปริมาณมาก หรือใช้เลนส์เทเลโฟโต้ การจะจับภาพให้หยุดนิ่งจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมาก เช่น 1/1,000 วินาที เป็นต้น ในขณะที่สายน้ำซึ่งไหลเอื่อยอาจจะใช้ความเร็วชัตเตอร์เพียง 1/125 วินาทีก็สามารถหยุดภาพได้ สำหรับมือใหม่ควรจะเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ไว้หลาย ๆ ระดับจะได้มีรูปให้เลือกหลาย ๆ แบบ

. การเลือกใช้ขนาดช่องรับแสง ช่องรับแสงแคบจะให้ช่วงความชัดหรือ Depth of Field มากกว่าช่องรับแสงกว้าง โดยปกติการถ่ายภาพน้ำตกจะต้องการภาพที่ชัดตั้งแต่ด้านหน้าไปจนถึงด้านหลัง เพื่อให้ได้ภาพใกล้เคียงตาเห็นมากที่สุด ควรเลือกใช้ช่องรับแสงปานกลางถึงแคบเป็นหลัก เช่น f/8 , f/11 , f/16 ทั้งนี้ขึ้นเลนส์และระยะชัดด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น