เทคนิคการถ่ายเเสงลอดต้นไม้

1. จากภาพที่เห็นจริงๆ คือ มองตาเปล่าก็เห็นเป็นลำแสงอย่างนั้น แต่การที่ทำให้เกิดลำแสงอย่างนั้นก็เกิดจากลำแสงที่สาดลงมาเต็มๆ แล้ว เล็ดลอดผ่านใบไม้และกลีบเมฆลงมา แต่ก็ยังไม่พอ มันจะต้องเกิดจากการมีหมอก ควัน หรือฝุ่น เพื่อให้ลำแสงเหล่านั้นไปกระทบแล้วก็จะเห็นลำแสงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

2. จากกล้อง คือ จะต้องมีการเซ็ตค่า Aperture (F) ให้หน้ากล้องเปิดรับแสงแคบๆ เช่น สัก F 8-11 (ตัวเลขมากหน้ากล้องแคบ ตัวเลขน้อยหน้ากล้องกว้าง) ส่วน ISO และ Shutter Speed นั้น แล้วแต่ความเหมาะสม

เทคนิคการถ่ายพลุ

อันดับแรกคือต้องมีขาตั้งกล้อง (ถ้าอันดับแรกคือต้องมีกล้อง นี่คืออันดับที่สอง) เพราะเป็นอันแน่นอนว่า เราต้องเปิดชัตเตอร์มากกว่า 2 วินาทีแน่นอนถ้าจะลองถือถ่ายด้วยมือล้วนๆ ก็ทายได้โดยไม่ต้องเดาว่าภาพเบลอ, สั่นแน่ๆ
สายลั่นชัตเตอร์ก็เป็นอีกสิ่งจำเป็น มันช่วยให้คุณได้ภาพคมกริบ และควบคุมการเปิด-ปิดชัตเตอร์ได้
อันดับต่อมา คุณต้องมีแบตเตอรี่ที่ชาร์ตไฟเต็มเปี่ยม หรือเตรียมแบตเตอรี่สำรองเอาไว้ เพราะการเปิดหน้ากล้องนานนั้น เปลืองแบตเตอรี่ค่อนข้างมาก และการเซฟภาพจากบัฟเฟอร์ลงสู่การ์ดก็ใช้พลังงานพอสมควรทีเดียว คุณคงไม่อยากเจอว่าถ่ายได้ไม่ถึง 10 ภาพแล้วแบตหมดหรอกนะ ที่สำคัญพลุอันอลังการมักจะอยู่ในชุดท้ายๆ เสียด้วยสิ
ตั้ง ISO ไว้ที่ 100 ถ้าเป็นไปได้ ("ควรจะ" เป็นอย่างยิ่งเพื่อคุณภาพของภาพ)จะใช้ ISO ที่สูงกว่านี้ก็ได้ แต่ท้องฟ้าที่เป็นฉากหลังจะไกลความเป็นสีดำออกไปทุกทีแถมคุณต้องมาผจญกับ Noise ในภายหลังอีกด้วย
รูรับแสง (f stop) ลองเอาหลักการนี้ไปใช้ดู...

ISO 50 ใช้ f/5.6-f/8
ISO 100 ใช้ f/8-f/11
ISO 200 ใช้ f/11-f/22


ควรวางระยะโฟกัสที่พลุ ไม่ควรใช้โฟกัสที่ Infinity ถ้าจะให้มีองค์ประกอบอื่นเป็นวัตถุ Silhouette ก็โฟกัสที่วัตถุนั้น เมื่อโฟกัสได้แล้วอย่าลืมปิดระบบออโต้โฟกัส มิฉะนั้นเลนส์ของคุณจะวิ่งจับโฟกัสไปทั่วระหว่างการแสดงพลุ
ตำแหน่งของคุณ ถ้าเป็นไปได้ควรที่จะอยู่เหนือลม เพราะในการแสดงพลุนั้นมักจะมีควันมาก (จากตัวพลุ) ควันอาจจะรบกวนภาพของคุณหากคุณอยู่ใต้ลมและพัดควันเข้าหาคุณ ดีไม่ดีก็เข้าตากันให้ปวดแสบปวดร้อนเอาได้ง่ายๆ
ควรพกไฟฉายเล็กๆ ไปด้วยเพราะคุณอาจจะต้องใช้ในการปรับตั้งกล้อง
เมื่อพลุชุดแรกถูกยิงขึ้นฟ้า อย่าเพิ่งรีบถ่ายภาพ ให้คุณจัดการปรับตำแหน่งกล้อง,ปรับตั้งเลนส์+จัดองค์ประกอบภาพ ถ้าเป็นไปได้รีบหาตำแหน่งที่ดีที่สุด กรณีนี้เลนส์ซูมทั้งหลายจะช่วยคุณได้มากในการจัดภาพ, จัดตำแหน่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องคำนึงถึงมุมภาพและระยะห่างด้วยในการเลือกใช้เลนส์
เมื่อพลุชุดที่สองถูกยิงขึ้นฟ้า คุณควรรอจังหวะที่ชุดแรกดับหมดแล้ว จึงเริ่มกดชัตเตอร์ ใช้ชัตเตอร์ "B" โดยเปิดชัตเตอร์ค้างไว้ ปิดชัตเตอร์เมื่อคุณต้องการแล้วดูผลว่าคุณควรเปิดชัตเตอร์นานเท่าไหร่ดี
บางทีคุณอาจลองเปิดหน้ากล้องสัก 30 วินาทีดูก็ได้
หากไม่รู้ว่าจะเริ่มกดชัตเตอร์ตอนใหนดี? ลองเอาเทคนิคนี้ไปใช้ดูกดชัตเตอร์ เมื่อคุณได้ยินเสียงพลุถูกยิงขึ้นฟ้า ถ้าคุณอยู่ห่างพอ (โดยมากมักเป็นเช่นนั้น) ด้วยความที่เสียงเดินทางมาช้ากว่าแสง เมื่อคุณเริ่มกดชัตเตอร์(ได้ยินเสียงพลุยิง) ตัวพลุก็ขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าเตรียมตัวจะแตกออกแล้ว คุณก็จะไม่พลาดช็อตเด็ดแน่ๆ
หากต้องการจำนวนพลุมากๆ ให้ลองใช้ผ้าดำคลุมหน้ากล้องเมื่อบันทึกภาพลูกที่ 4-5-6 แล้ว เอาผ้าดำคลุมเลนส์เพื่อหยุดการรับแสง รอจนพลุลูกต่อไปขึ้นสู่ฟ้าค่อยเอาผ้าออกเพื่อเปิดรับแสง(ภาพของพลุ) เข้ามาเพิ่มอีก สิ่งที่ต้องระวังคือต้องไม่ให้เกิดการสะเทือนไปถึงกล้องและเลนส์ ไม่อย่างนั้นภาพของคุณก็เบลอแน่ๆ

 

เทคนิคการถ่ายภาพระเบิดซูม

หนึ่งในเทคนิคที่ท้าทายและค่อนข้างฮือฮาเป็นอย่างมากในอดีตก็คือ การถ่ายภาพแบบ "ระเบิดซูม" ซึ่งเป็นวิธีเน้นวัตถุตัวแบบให้โดเด่นด้วยลักษณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างในภาพพุ่งรวมศูนย์เข้าหาวัตถุกลางภาพด้วยความเร็วสูง
วิธีการบันทึกภาพแบบนี้ก้ำกึ่งอยู่ระหว่างความยากและความง่าย โดยตัวอุปกรณ์เองแล้วไม่มีวิธีอะไรซับซ้อนมากนัก แต่ความยากอยู่ที่ความนิ่งของมือผู้ถ่ายภาพเป็นสำคัญ แต่ถ้าฝึกจนกระทั่งชำนาญแล้ว ก็จะแทบสั่งได้ในทุกสถานการณ์เลยทีเดียว

อุปกรณ์บันทึกภาพเทคนิคระเบิดซูม

  • เลนส์ซูมในช่วงต่างๆ
  • ขาตั้งกล้อง
ที่สำคัญที่สุดก็คือเลนส์ซูม เพราะเป็นการใช้คุณสมบัติในการเปลี่ยนระยะของเลนส์ชนิดนี้โดยตรง ส่วนเลนส์ฟิกซ์หรือเลนส์ที่มีระยะตายตัวจะไม่สามารถใช้เทคนิคนี้ได้
ช่วงซูมที่สามารถสร้างความตื่นตาให้กับภาพได้มากก็คือช่วงซูมเทเลโฟโต้ แต่ก็จะเป็นช่วงซูมที่ถ่ายภาพค่อนข้างยากเนื่องจากอาจเกิดการสั่นไหวอันจะทำให้ภาพเกิดอาการเบลอได้ง่าย

วิธีการถ่ายภาพ

เลือกใช้สปีดชัตเตอร์ช้าถึงปานกลางเช่น 1/80, 1/40 sec. หรือต่ำลงไปเรื่อยๆ โดยใช้ขาตั้งกล้องช่วยจับกล้องให้นิ่ง จับโฟกัสไปที่วัตถุตัวแบบแล้วปรับมาเป็นระบบ Manual focus เพื่อล็อคโฟกัสให้อยู่กับที่ ตั้งค่ารูรับแสงและค่า ISO ให้มีค่าแสงที่พอดี(สัมพันธ์กับค่าสปีดชัตเตอร์) จากนั้นก็กดถ่ายภาพ ในขณะทีี่ม่านชัตเตอร์เปิดรับแสงอยู่นั้นก็ให้หมุนวงแหวนปรับซูมเปลี่ยนระยะด้วยความรวดเร็วก่อนที่ม่านชัตเตอร์จะปิด หากกล้องและเลนส์ไม่มีการสั่นไหว วัตถุกลางภาพจะคมชัดสวยงามในขณะที่วัตถุอื่นรอบด้านจะเบลอเป็นเส้นพุ่งเข้าหาส่วนกลาง        
ในขณะที่ถ่ายภาพแบบนี้มักจะเกิดอาการภาพสั่นอยู่เสมอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากลักษณะการบิดหมุนวงแหวนซูม นั่นคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดสำหรับการถ่ายภาพระเบิดซูม


5 เคล็ดลับดีๆ สำหรับการถ่ายภาพกลุ่มของคุณ

1. ลืมวิธีปฎิบัติเดิมๆ ไปซะ...
        การถ่ายภาพหมู่ส่วนใหญ่ มีประเพณีนิยมอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนเลย นั้นก็คือการนับถอยหลังก่อนถ่ายภาพลองได้ยืนอยู่หลังกล้องเพื่อค่อยบันทึกภาพ ก็มักจะมีการนับ 1 - 2 - 3 กดชัตเตอร์ หรือ 3 - 2 - 1 กดชัตเตอร์โดยอัตโนมัติกัน...ลืมวิธีการนี้ไปซะ หากอยากได้ภาพกลุ่มที่ตื่นตาตื่นใจ และผลที่จะได้นั้นก็จะทำให้ประหลาดใจอีก เพราะทุกคนจะดูเป็นธรรมชาติกว่า
2. เวลาคือทุกสิ่ง...เวลาที่เหมาะสมจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างผลงามดีๆ ด้วยความเข้าใจในเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพมันจะช่วยสร้าง "perfect shot" ได้อย่างง่ายดาย
3. แสง, แสง และ แสง
แสงคือทุกสิ่ง เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการถ่ายภาพ ภาพที่ดูดีหรือภาพที่ดูน่ากลัวจะถูกกำหนดด้วยการควบคุมแสงของช่างภาพที่ชำนาญ และช่างภาพหลายๆ คนที่ขาดสิ่งนี้ นี่คือเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้ควบคุมแสง
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ต้องแน่ใจว่าแสงที่ส่องไปนั้น ไม่ทำให้เกิดเงาไปพาดลงบนใบหน้าคนอื่น
  • ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้แฟลช จะช่วยให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
  • ใช้การสะท้อนแสงช่วยกระจายแสงสิ

4. เรื่องราว ความเป็นมา...
สำหรับการถ่ายภาพแล้ว ฉากหลังนั้นเป็นตัวบอกเรื่องราวต่างๆ ของซับเจคได้เป็นอย่างดี หลายๆ ครั้งที่เราเลือกจะถ่ายภาพกลุ่มในห้องเล็กๆ หรือในสตูดิโอ ลองพาครอบครับหรือเพื่อนๆ ออกไปข้างนอกกัน แล้วจะได้มีพื้ที่ว่างมากกมายสำหรับการถ่ายภาพและยังบอกเล่าว่าครอบครัวหรือเพื่อนๆ นั้นไปไหนกันมาบ้าง และยังได้ใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติอีกด้วย


 
5. อย่ายึดติดกับพื้นดิน...

หากการถ่ายภาพหมู่ทำให้หงุดหงิดเพราะมุมมองที่ซ้ำซากจำเจแล้วละก็ ลองเลิกยึดติดกับพื้นดินสิ ไม่ใช่ให้ท้าทายกับกฏแรงโน้มถ่วงนะ
แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงมุมมองของคุณซะ ไม่ว่าจะขึ้ไปถ่ายภาพจากระเบียงบ้านชั้น 2 แล้วให้ทุกคนรออยู่ที่ชั้นล่าง
หรือจะคุกเข่าลงไป แล้วเงยกล้องขึ้นไปบนท้องฟ้าตามจินตนาการไป

เทคนิคการถ่ายภาพดวงไฟตอนกลางคืนให้แสงออกมาเป็นแฉกๆ(ไม่ง้อฟิลเตอร์)

เทคนิคนี้ง่ายมากครับ สิ่งที่ต้องเตรียมก็คือ กล้องดิจิตอล 1 ตัว (อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว) ขาตั้งกล้อง และ สายลั่นชัตเตอร์ครับ

สองสิ่งหลังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากครับ ขาดไม่ได้เลยด้วยเหตุผลดังนี้ครับ
  • ที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะการถ่ายภาพกลางคืนจะต้องใช้ Shutter Speed ที่ช้ามาก ทำให้ภาพสั่นไหวได้
  • สายลั่นชัตเตอร์นำมาใช้เวลาที่เรากดชัตเตอร์ เราจะได้ไม่ไปกระทบกระเทือนกล้องซึ่งทำให้เกิดภาพสั่นไหวได้ครับ
เทคนิคง่ายๆแต่ได้ผลที่จะนำเสนอก็คือ การใช้รูรับแสงให้เล็กที่สุดครับ
เล็กขนาดไหน?? ก็ให้เล็กกว่า F16 เป็นต้นไป ก็จะเริ่มเห็นเป็นแฉกแล้วครับ ยิ่งให้รูรับแสงเล็กเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นแฉกชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

10 วิธี การถ่ายภาพขาวดำ โดยกล้องดิจิตอล ให้มีประสิทธิภาพ

       การถ่ายภาพขาวดำไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เรารู้จักวิธีการเริ่มต้นที่ดีก็จะสามารถทำให้ภาพถ่ายที่เราจะนำไป ทำเป็นภาพขาวดำให้ออกมาสวยงามได้ง่ายขึ้น  การเตรียมภาพที่ดี รู้จักมุมมอง รู้จักโทนในการถ่ายภาพ รู้จักขั้นตอนต่างๆ เท่านี้คุณก็จะได้ภาพขาวดำไปอวดใครต่อใครแล้ว วิธีการมีดังนี้
  1.  ให้ถ่ายภาพด้วย RAW ? อธิบายง่ายๆ ก็คือ ให้กล้องมันเก็บรายละเอียดเอามาให้หมดแบบไม่บีบอัด ไม่เหมือนไฟล์ JPEG ที่ลดรายละเอียดลงเยอะเลย สังเกตกันง่ายๆ โดยไฟล์ raw ไฟล์จะใหญ่กว่า ฉะนั้นตั้งค่าในกล้องให้เป็น RAW เต็มความจุของกล้องไปเลย ง่ายๆ แค่นี้ล่ะ
  2. หาฟิลเตอร์ ND และ C-PL มาใส่ซะ - รีบไปซื้อมาใส่เลย โดยเจ้าตัว ND นี้ จะได้ใช้เวลาเราถ่ายท้องฟ้ากับพื้นดินที่ค่าแสงมันต่างกันมาก แบบว่าเราถ่ายฟ้าพอดี เอ๊ะ ทำไมพื้นดินมืด ถ่ายพื้นพอดี ฟ้าขาวอีก นั้นล่ะเอาไปใส่ซะ เพื่อให้มันลดค่าแสงให้ออกมาพอดี ทั้งท้องฟ้าและพื้นดินเลยง่ายมาก ส่วนฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (Polarizer filter) หรือเรียกง่ายๆ ว่า PL แล้วกัน ใส่แล้วทำให้ท้องฟ้าเข็มขึ้น เวลาเราเอามาทำขาวดำมันจะได้ค่าเปรียบต่างกันสวยเชียวล่ะ หรือใช้ถ่ายน้ำตกให้มันพลิ้วๆ ไหวๆ อีกอย่างมันลดแสงด้วยก็ดูดิมันมืดขนาดนั้น
  3. 3. ตั้งค่า ISO ให้ต่ำถึงต่ำที่สุด - ทำไมต้องต่ำ ก็เพราะเราจะเอาไปแต่งในโปรมแกรมแต่งภาพต่อไปไง และต้องให้กล้องเราถ่ายมาดีที่สุดแบบไม่เอา noise เพราะ noise หรือเกรนในสมัยฟิล์ม ทำใน PS สวยกว่า หลากหลายกว่าด้วย  เพราะฉะนั้นอย่าลืมขาตั้งนะจะบอกให้เพื่อความคมชัด
  4. 4. ระวังเวลาถ่ายภาพที่สภาพแสงแตกต่างกันเยอะ ?เราก็ทราบกันดีแล้ว ว่ากล้องดิจิตอลพอขาวหน่อยจะขาวหมดรายละเอียด แบบเนี่ยไม่ดี เราต้องระวัง ถ้าเราจะถ่ายลองหัดวัดแสง โดยใช้ระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุด หรือเฉพาะส่วนไปเลย ที่นี้เราก็เอาหลักวัดแสงโทนสว่างโทนมืดมาปรับ ง่ายๆ ถ้าถ่ายแล้วโทนสว่างก็ปรับชดเชยไปทางบวกสัก ? หรือ 1 stop หรือกลับกันถ้ามันโทนมืด เราก็ชดเชยไปทางลบสัก ครึ่ง ถึง 1 stop เช่นกัน แต่จะเท่าไรลองมองในจอ lcd ดู ฝึกหลายครั้ง ครั้งต่อไปนึกแล้วชดเชยตามได้เลยเชียว
  5. 5.  ตั้งค่าไวท์บาลานซ์ให้ถูก  ถ้าตอนแรกเราถ่ายเป็น RAW ไม่ต้องกลัว เรามาปรับภาพทีหลังในโปรแกรมได้ แต่ถ้าเราถ่ายแบบ JPEG ให้ตั้งให้ถูกตามคำแนะนำในกล้องหรือจำง่ายๆ ถ่ายกลางแจ้งตั้งเป็นdaylight เลย อันนี้มันจะมีผลต่อโทนเราอีกด้วยน่ะเจ้าไวท์บาลานซ์เนี่ย
  6. อย่าถ่ายด้วยโหมดขาวดำในกล้อง  อันนี้ห้ามเลย ให้ถ่ายด้วยภาพสีธรรมดาเนี่ยล่ะ แล้วเราก็ไปปรับแต่งในโปรแกรมแต่งภาพต่อไป ที่สำคัญจำไว้ว่า เวลาเราถ่ายเป็นขาวดำภาพจะออกเทากลางๆ ลองสังเกตดูแบบนี้โทนขาวดำก็ไม่ดีสิ อีกอย่างเวลาเราถ่ายสีเรายังนำไปใช้ได้อีก
  7. ปรับค่าในกล้องให้เป็นโหมดกลางๆ  ที่ให้ปรับกลางๆ สาเหตุเพราะเราต้องการถ่ายขาวดำให้มีโทนตั้งแต่มืดไปสว่างให้มันมากที่สุด เก็บรายละเอียดมาดีที่สุด เข้าไปเมนูในกล้องแต่ละคนแล้วปรับดังนี้  ?เริ่มด้วยการปิดระบบ Sharpening และระบบลด Noise ในเครื่องเป็นอันดับแรกเลย แล้วเลือกใช้ Colour Space เป็น Adobe 1998 (ผลทางด้านรับช่วงสี) และปรับค่า Saturation เป็นค่ากลาง แต่ต้องหลีกเลี่ยงการปรับตั้ง Contrast เพราะมันจะบีบโทนของภาพเราให้แคบ? แค่นี้ก็ได้โทนมาเยอะ
  8. ดูฮิสโตแกรมในเครื่อง ? เวลาถ่ายเสร็จลองดูฮิสโตแกรมไม่ว่าจะถ่ายเป็น RAW ไฟล์หรือ JPEG มันจะบอกภาพเราว่าถ่ายมืดไปหรือสว่างเกินไปได้ ง่ายๆ ถ้ามันเทไปซ้ายก็อาจจะภาพมืด ถ้ามันเทไปขวาก็อาจจะภาพสว่าง วิธีดีที่สุดดูให้มันอยู่กลางๆ และสม่ำเสมอนั้นล่ะดีที่สุดแล้ว ได้โทนมาครบด้วย จริงๆ มันต้องดูรวมทั้งภาพล่ะ
  9. ลองใส่ฟิลเตอร์ในตัวกล้อง  - สำหรับกล้องคอมแพ็ค หรือกล้องที่ไม่สามารถปรับเป็นโหมด RAW ได้ เพื่อ ความแปลกตา เพื่อโทนที่ดีขึ้น และทำให้ภาพขาวดำเราสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ และถ้าเราเข้าใจหลักพื้นฐานเรื่องโทนก็จะไปไกลอีก ลองหัดใส่แล้วถ่ายดูหลายๆ แบบ
  10. 10. หัดมองเป็นขาวดำ ? ก็คือมองและนึกว่าโลกนี้มันขาวดำมองแบบโทนหรือจำง่ายๆ ความเข้มที่ไล่จากดำไปเทาไปขาวนั้นล่ะเรียกว่าโทนแล้ว ดูว่าสีแดงโทนแบบไหน สีเขียวโทนแบบไหน สีนั้นสีนี้โทนแบบไหน เพราะขาวดำน่ะบางที่จากภาพสีที่เราคิดว่าสีจ๊าบๆเวลาแปลงเป็นขาวดำอาจจะโทน เท่ากันเลยก็ได้ อันนี้อยู่ที่การฝึกและเรียนรู้กันล่ะครับ

การจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย

         การจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้นการถ่ายภาพนั้นไม่ใช่เพียงแค่การยกกล้องมากดถ่ายภาพเท่านั้น แต่มันยังมีเรื่องราวของศิลปะแฝงอยู่ภายในมากมายซึ่งแน่นอนอันดับแรกเราต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมกล้อง ควบคุมแสงสีต่างๆ ตลอดจนรวมไปถึงความไวชัตเตอร์และรูรับแสง แต่เพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอที่จะสร้างภาพถ่ายที่สวยงามได้ การควบคุมกล้องให้ได้อย่างใจนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรกและเมื่อเรามีความชำนาญที่มากพอแล้วนั้น ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมซึ่งไม่ว่าเราจะใช้กล้องแบบใดก็ตามจะเป็น Cybershot หรือว่า Alpha สิ่งนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ตลอด สิ่งที่เรากำลังพูดถึงนั้นก็คือ “การจัดองค์ประกอบภาพ”


กฎสามส่วน

กฎนี้เป็นกฎง่ายๆของการจัดองค์ประกอบภาพสำหรบการถ่ายภาพ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในการถ่ายภาพทิวทัศน์นั้นเรามักชอบที่จะวางเส้นขอบฟ้าเอาไว้ตรงกลางภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรามีวิธีที่จะวางเส้นขอบฟ้าไว้ที่อื่นเพื่อที่จะทำให้ภาพนั้นน่าสนใจมากขึ้นได้ ซึ่งโดยหลักการแล้วนั้นให้เราทำการแบ่งพื้นที่ในภาพออกเป็นสามส่วน บน กลาง และด้านล่าง จากนั้นให้วางเส้นขอบฟ้าค่อนไปทางด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ ให้ท้องฟ้ากินพื้นที่ 1 หรือ 2 ส่วนก็ได้แล้วแต่สถานะการณ์ ซึ่งเราจะได้ภาพลักษณะที่เป็นดินสองส่วนฟ้าหนึ่งส่วน หรือฟ้าสองส่วนดินหนึ่งส่วนก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่น่าสนใจกว่าการแบ่งภาพแบบครึ่งๆ

จุดตัด 9 ช่อง

สำหรับภาพที่มีจุดสนใจในภาพนั้น โดยปกติแล้วเรามักจะวางจุดสนใจกันเอาไว้กลางภาพ ซึ่งในหลายๆครั้งจุดสนใจนั้นจะถูกลดความน่าสนใจลงไปเนื่องจากโดยส่วนอื่นๆบริเวณรอบข้างดึงความสนใจไป เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้กฎที่เรียกว่า “จุดตัด 9 ช่อง” โดยให้ทำการแบ่งภาพทั้งหมดเป็น 9 ช่อง แล้วเลือกวางจุดสนใจในบริเวณที่เป็นจุดที่เส้นแบ่งนั้นตัดกันซึงจะมีทั้งหมด 4 จุดด้วยกัน การวางจุดสนใจในภาพไว้ในลักษณะนี้นั้นจะทำให้จุดสนใจในภาพนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเด่นชัดมากยิ่งขึ้นดังภาพด้านล่าง
เส้นนำสายตาในบางครั้งการวางจุดสนใจในภาพอาจไม่ได้วางตามจุดตัด 9 ช่องก็ได้ แต่เราจะมีวิธีอื่นที่สร้างให้จุดนั้นๆกลายเป็นจุดสนใจในภาพได้โดยการ ใช้เส้นนำสายตาซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมนุษย์เราเห็นเส้นอะไรสักอย่างมักจะมองตามไปเสมอ และการมองตามเส้นนั้นๆไปจะดึงให้สายตาของผู้มองนั้นมองตามไปจนเจอกับจุดสนใจในภาพที่เราวางไว้ เส้นนำสายตานั้นจะเป็นอะไรก็ได้ในภาพที่มีลักษณะเป็นเส้น เช่น ถนน ขอบรั้ว หรืออะไรก็ได้ไม่จำกัดขอให้มีลักษณะเป็นเส้น และให้เส้นเหล่านั้นชี้ไปยังจุดสนใจที่เราได้ทำการวางเอาไว้ จะทำให้จุดสนใจในภาพที่เราวางเอาไว้เด่นขึ้นมาในทันที
การเหลือพื้นที่ในหลายๆครั้งนั้นเราจะพบปัญหาเกี่ยวกับพื้นทีส่วนอื่นๆในภาพว่าเราควรจะเหลือส่วนไหนอย่างไรดี หลักการนี้ก็เป็นหลักการง่ายๆโดยให้เราทำการเหลือพื้นที่ด้านเดียวกับจุดสนใจในภาพเพื่อให้คนดูภาพไม่รู้สึกอึดอัด เช่นถ้าหากหน้าคน รถ หรือว่าอะไรก็ตามหันไปทางไหนให้เราเหลือพื้นที่บริเวณนั้นเอาไว้ เพื่อให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัดและยังเหลือที่ว่างให้คิดหรือจินตนาการต่อได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป หลักการนี้เป็นหลักการง่ายๆที่ทำให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัด แต่ถ้าหากภาพนั้นต้องการสื่อถึงอารมณ์ให้รู้สึกอึดอัดก็ไม่จำเป็นต้องเหลือพื้นที่ก็ได้ แล้วแต่ว่าเราต้องการบอกอะไรคนดู
ใส่กรอบให้กับภาพหลักการนี้เป็นหลักการสร้างจุดสนใจให้กับภาพอีกอย่างหนึ่ง โดยให้เราหารอบประตูหน้าต่าง หรืออะไรก็ได้ที่มีลักษณะเป็นกรอบอาจจะสองด้านหรือว่าสี่ด้านก็ได้ แล้วจากนั้นก็นำจุดสนใจในภาพไปใส่ไว้ในกรอบนั้นๆ ผู้ชมภาพจะถูกบีบด้วยกรอบที่ซ้อนอยู่ในภาพให้มองไปยังจุดสนใจที่เราวางเอาไว้ ซึ่งจะเป็นการทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นอีกทางหนึ่งได้

 

เทคนิคการถ่ายภาพน้ำตกให้ฟุ้ง

                การถ่ายภาพน้ำตก มิใช่เรื่องยากอะไรนัก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายซะทีเดียวหากผู้ถ่ายภาพไม่ได้ต้องการภาพน้ำตกให้ออกมา เหมือนภาพถ่ายทั่ว ๆ ไปที่กล้องประเภทพกง่ายถ่ายสะดวกก็ถ่ายได้ หากต้องการภาพน้ำตกสวย ๆ ผู้ถ่ายภาพต้องรู้วิธีเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ การควบคุมช่องรับแสง วัดแสงให้ถูกต้องกับภาพที่ต้องการ ที่เหลือคือเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การใช้ฟิลเตอร์ การจัดองค์ประกอบภาพ หรือการรอจังหวะแสง ก็จะได้ภาพน้ำตกสวย ๆ กลับมาเชยชม

1. การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ หลักการพื้นฐานคือ ความเร็วชัตเตอร์สูงจะหยุดสายน้ำให้นิ่ง ส่วนความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะทำให้สายน้ำดูพลิ้วไหวและนุมนวนเป็นหลัก จะเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับใดขึ้นกับว่าช่างภาพต้องการให้สายน้ำออกมา เป็นอย่างไรเป็นสำคัญ สายน้ำนุ่มๆ จะทำให้น้ำตกดูเล็ก ไม่แข็งกร้าว เหมาะกับน้ำตกที่มีน้ำไม่มากเกินไปนัก ส่วนความเร็วชัตเตอร์สูงทำให้น้ำตกดูรุนแรง เหมาะกับน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีพลังมากๆ
การจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้นปกติผมจะถ่ายภาพน้ำตกแบบเรียบง่าย ไม่เน้นมุมภาพที่โลดโผน มักจะเน้นไปที่แสง ให้น้ำตกดูสวยดังตาเห็น ถ่ายทอดความประทับใจผ่านภาพถ่ายมากกว่า การถ่ายภาพน้ำตก โดยปกติจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ ถ่ายภาพให้เห็นน้ำตกเต็ม ๆ ภาพ ถ่ายภาพน้ำตกโดยมีฉากหน้าประกอบ และถ่ายเจาะเฉพาะส่วนของน้ำตกที่น่าสนใจ

ระดับความเร็วชัตเตอร์ที่ทำให้สายน้ำหยุดนิ่งหรือพลิ้วไหวไม่สามารถระบุออก มาได้ว่าเป็นเท่าไร เพราะขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ปริมาณน้ำ ความเร็วของสายน้ำ เลนส์ที่ใช้ เป็นต้น ถ้าสายน้ำไหลเร็ว รุนแรง น้ำมีปริมาณมาก หรือใช้เลนส์เทเลโฟโต้ การจะจับภาพให้หยุดนิ่งจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมาก เช่น 1/1,000 วินาที เป็นต้น ในขณะที่สายน้ำซึ่งไหลเอื่อยอาจจะใช้ความเร็วชัตเตอร์เพียง 1/125 วินาทีก็สามารถหยุดภาพได้ สำหรับมือใหม่ควรจะเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ไว้หลาย ๆ ระดับจะได้มีรูปให้เลือกหลาย ๆ แบบ

. การเลือกใช้ขนาดช่องรับแสง ช่องรับแสงแคบจะให้ช่วงความชัดหรือ Depth of Field มากกว่าช่องรับแสงกว้าง โดยปกติการถ่ายภาพน้ำตกจะต้องการภาพที่ชัดตั้งแต่ด้านหน้าไปจนถึงด้านหลัง เพื่อให้ได้ภาพใกล้เคียงตาเห็นมากที่สุด ควรเลือกใช้ช่องรับแสงปานกลางถึงแคบเป็นหลัก เช่น f/8 , f/11 , f/16 ทั้งนี้ขึ้นเลนส์และระยะชัดด้วย

เทคนิคการถ่ายภาพเส้นเเสงเเละไฟกลางคืน

    
       อีกหนึ่งเทคนิคที่ช่างภาพมืออาชีพและสมัครเล่นจะมีโอกาสได้ทดลองฝีมือ คือ การถ่ายภาพไฟกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นไฟประดับตามงานพิธีต่างๆ ป้ายโฆษณาหรือท้องถนนทั่วไปก็คงต้องเตรียมอุปกรณ์และมีเทคนิคในการถ่าย ดังต่อไปนี้
               อุปกรณ์
            1. กล้องซึ่งมี menu ในการกำหนดความเร็วชัตเตอร์มีหน่วยเป็นวินาที (")หรือชัตเตอร์ B bulbได้เอง
            2. สายลั่นชัตเตอร์และขาตั้งกล้อง

วิธีการถ่ายภาพ
           1. มองหามุมที่จะถ่ายภาพให้ดี ที่ดีควรเป็นมุมสูงที่มองเห็นรถวิ่งไปมา หลากสี
           2. ตั้งกล้องที่บรรจุฟิล์มหรือกำหนด ISO แล้ว ตั้งบนขาตั้งกล้องให้แข็งแรงไม่สั่นสะเทือน หาโฟกัสให้เรียบร้อย      
           3. เปิด F/STOP ประมาณ 8 หรือ 11 ตั้งความเร็ว
ชัตเตอร์ที่ B แล้วจับเวลาเองหรือเซ็ตความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเอง ประมาณ 5-60 วินาที ทดลองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครั้งละ
5-10 วินาที ความเร็วที่เหมาะสมไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับสภาพแสงตอนนั้นต้องทดลองเอง ควรถ่ายเผื่อในมุมเดิมสัก 3-4 ภาพ โดยใช้ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อหาภาพที่ดีที่สุดและอย่าลืมจดบันทึก f/stop และเวลาทุกครั้ง      

การถ่ายภาพ stop action


STOP ACTION
            เป็นเทคนิคการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง เพื่อให้ภาพที่เคลื่อนไหวดูหยุดนิ่ง  โดยใช้ตั้งแต่  1/250 วินาทีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านหน้าเลนส์ของวัตถุ
                การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องวางแผนให้ดี ปรับโฟกัส และวัดแสงไว้ล่วงหน้า อาศัยการกะระยะ  และการตัดสินใจที่ฉับไวในการถ่ายภาพ  แต่ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพมีความงาม และมีคุณค่า


นอกจากนี้เรายังสามารถประยุกต์การถ่ายภาพเเบบนี้กับท่าทางต่างๆเพื่อให้ภาพออกมามีสีสันเเละอารมณ์ขันเพิ่มขึ้นได้


เทคนิคการถ่ายภาพเเพน

ภาพเเพนคือ เคยพลิกหนังสือรถเห็นภาพรถขับเร็วๆแต่เห็นรถชัดแล้วแบ๊กกราวนด์เคลื่อนที่แทนหรือเปล่าครับ หรือเห็นรูปคนขี่จักรยานอยู่แต่ภาพออกมาคนขี่จักรยานชัดแต่แบ๊กกราวนด์เคลื่อนที่ หรือคนเดินพาเหรดที่ดูเหมือนแบ๊กกราวนด์เคลื่อนที่ตรงกันข้ามกับที่คนเดิน เป็นต้น เทคนิคนี้เค้าเรียกว่าการถ่ายภาพแพน เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ถ่ายภาพเพื่อให้เกิดมิติการเคลื่อนไหวโดยจุดประสงค์หลักคือเราต้องการให้ subject ยังชัดอยู่ ในขณะที่แบ๊กกราวนด์ไม่ชัด เพื่อขับให้ subject เด่นขึ้น
ส่วนเทคนิคที่เราจะพูดถึงในวันนี้คือการถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่เรียกว่า panning หรือการแพนกล้องไประหว่างกดชัตเตอร์ที่ความเร็วต่ำ โดยถือหลักเหมือนกับว่าเวลาเราขับรถ ตัวเราจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าพร้อมๆกับเรา ดังนั้นของที่อยู่กับที่หรือขยับที่ความเร็วต่างกันมันก็จะเลื่อนผ่านเราไปตลอดเวลา แต่ถ้ารถคันข้างๆขับที่ความเร็วเท่ากัน เราจะเห็นเหมือนเค้าอยู่นิ่งๆ ถ้าได้ถ่ายรูปรถคันนั้น ภาพที่ได้ก็จะดูเหมือนกับรถอยู่นิ่งๆแบ๊กกราวนด์ขยับสวนทางกับทิศรถแล่น ด้วยหลักการเดียวกันเราสามารถที่จะถ่ายภาพคลื่อนที่โดยการพยายามให้กล้องที่จะถ่ายเลื่อนไปตามสิ่งที่จะถ่ายด้วยอัตราเร็วเท่ากัน ภาพที่ถูกถ่ายก็เหมือนกับอยู่นิ่งๆให้ถ่าย แม้จะเปิดชัตเตอร์ช้า ก็จะไม่มัว ในขณะที่แบ๊กกราวนด์ที่เลื่อนด้วยความเร็วไม่เท่ากัน (หรือที่อยู่นิ่งๆ) ก็จะกลายเป็นเคลื่อนที่ในทางตรงกันข้ามกับที่เราแพนกล้อง ทำให้แบ๊กกราวน์มัวไป
การตั้งความเร็วชัตเตอร์ควรตั้งให้สัมพันธ์กับความเร็วของสิ่งที่เราจะถ่าย เช่น ถ้าถ่ายรถแข่งคงต้องตั้งในหลัก 1/1000sec หรือมากกว่านั้น ไม่งั้นรถจะมัว แต่อย่างสถานการณ์ม้าหมุน ตัวเลขอาจอยู่ระหว่าง 1/25-1/100sec ถ้าเราไม่แน่ใจลองเริ่มแรกลองใช้โหมดวัดแสงให้กล้องแนะนำความเร็วชัตเตอร์ เสร็จแล้วปรับให้ช้าลง อย่างเช่น กล้องวัดได้ที่ 1/100 ก็ลองตั้งให้เหลือ 1/50 หรือน้อยกว่านั้น เริ่มแรกอาจตั้งความเร็วค่อนข้างสูงไว้ก่อนแล้วถ่ายดูผลลัพธ์ว่าภาพที่ได้ชัดแล้วหรือยัง แล้วถ้าต้องการให้แบ๊กกราวด์เบลอมากขึ้นก็ลดความเร็วชัตเตอร์ลง จนกระทั่งถึงระดับที่ถ่ายยังไงภาพทั้งภาพก็ไม่มีอะไรชัด แสดงว่าตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไป
ส่วนการแพนควรจะเริ่มแพนตั้งแต่ subject ยังอยู่ไกลๆแล้วค่อยๆแพนกล้องให้เลื่อนด้วยอัตราเดียวกันกับสิ่งที่จะถ่าย ลองยกกล้องให้ขนานกับลำตัวแล้วหมุนตัวไปพร้อมๆกับของที่จะถ่าย แล้วกดชัตเตอร์เมื่อสิ่งนั้นอยู่ตรงกลางระหว่างช่วงแพน หรือถ้ากล้องมีโหมดถ่ายต่อเนื่องได้ ก็ให้กดปุ่มชัตเตอร์ค้างตั้งแต่เริ่มแพน โอกาสกล้องจะสั่นจากแรงกดชัตเตอร์ก็จะน้อยลง

การถ่ายภาพชัดตื้น

     จากคราวที่เเล้วผมได้เเนะนำการถ่ายภาพชัดลึกเบื้องต้นไปเเล้ว ตอนนี้เรามาดูการถ่ายภาพชัดตื้นกัน


เป็นการถ่ายภาพที่จะไม่เน้นฉากหลัง คือเราจะละลายฉากหลังนั่นเอง
- ทุกครั้งที่ถ่ายภาพ เมื่อเราเจอ Subject ที่เราจะถ่าย
(Subject ก็คือ ตัวประธานในภาพ หรือสิ่งที่เราต้องการ Present ในภาพ)
ก็นำจุด Focus ของกล้อง ไป Focus ที่ตัว Subject
กด Shutter ลงไปครึ่งหนึ่ง เพื่อให้ระบบ Auto Focus ทำงาน
ถ้ากล้อง Focus ได้ (ส่วนใหญ่จะมีสีเขียวโชว์ที่หน้าจอ LCD)
ระบบจะ Lock ระยะชัดที่ตัว Subject ไว้
จากนั้นเราก็จึงจัดองค์ประกอบภาพใหม่

โดยเราสามารถนำ subject ไปวางไว้ซ้ายขาว-บนล่างของภาพได้ทั้งนั้น
โดยที่ Subject ก็ยังชัดอยู่ (เพราะถูก Lock ความชัดเอาไว้)


แล้วจะถ่ายยังไงสำหรับคนที่เริ่มถ่ายรูป จำง่ายๆว่ายิ่งเปิดหน้ากล้องกว้าง ภาพยิ่งชัดตื้น เปิดหน้ากล้องแคบลง ภาพจะชัดลึก (จริงรายละเอียดมีมากกว่านี้ เอาไว้ผมจะมาอธิบายเรื่อง exposure ภายหลัง เรื่องมันยาว) การตั้งการเปิดหน้ากล้อง จะสังเกตจากตัวเลขที่ตามหลังค่า f อย่างเช่น f/2.2, f/4.6, f/1.8 ที่ผมเขียนกำกับแต่ละรูปข้างบน โดยค่าตัวเลขยิ่งน้อย ภาพจะชัดตื้น ค่ายิ่งมาก ภาพจะชัดลึก ดังนั้นถ้าต้องการถ่ายภาพชัดตื้น ก็ตั้งการเปิดหน้ากล้องด้วยค่า f ให้ต่ำๆเท่าที่เลนส์จะตั้งได้ เช่น f/1.8, f/2.8 ในขณะที่ถ้าถ่ายวิวทิวทัศน์ ควรตั้งค่า f สูงๆ เช่น f/8.0 ขึ้นไป เลนส์ที่ดีๆ(และทำให้ราคาแพง) มีช่วงในการตั้งค่า f ได้กว้าง เลยทำให้สามารถถ่ายภาพได้หลากหลายขึ้น



เเล้วเรามาลองดูความเเตกต่างระหว่างชัดลึกเเละชัดตื้น

เทคนิคการถ่ายภาพชัดลึก

ภาพชัดลึก คือภาพที่มีความชัดทั้งภาพทั้งวัตถุที่อยู่ด้านหน้าเเละด้านหลังมีความชัดเจนเท่ากันหมด

ปัจจัยที่มีผลต่อระยะชัดลึก (Depth of Field)

1 รูรับแสง (Aperture)  การปรับค่ารูรับแสงคือการปรับระยะชัดลึกด้วย ถ้าเราปรับค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้น (ค่า f น้อยลง) ค่าระยะชัดลึกก็จะน้อยลงด้วย ภาพก็จะหน้าชัดหลังเบลอหรือชัดตื้นมาก ในขณะที่ค่ารูรับแสงแคบๆ (ค่า f มาก) ค่าระยะชัดลึกก็จะมากขึ้น ภาพก็จะชัดไปทั้งภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ระยะชัดลึกน้อยๆ มักจะใช้กับการถ่ายภาพ Portrait เนื่องจากแยกตัวแบบออกจากฉากหลัง ทำให้ตัวแบบเด่นขึ้นได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ระยะชัดลึกมากๆ ก็มักจะใช้กับภาพถ่าย Landscape เนื่องจากภาพวิวทิวทัศน์นั้นเรามักจะต้องการความชัดลึกของทั้งภาพสูงนั่นเอง

2 ระยะห่างจากตัวเลนส์กับตัวแบบ ยิ่งเราเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นเท่าไหร่ ระยะชัดลึกจะยิ่งแคบลง และถ้าหากเราอยู่ไกลตัวแบบมากๆ ระยะชัดลึกก็จะเพิ่มขึ้น

3 ทางยาวโฟกัส (Focal Length) ยิ่งทางยาว Focus ของเลนส์มากๆ ระยะชัดลึกแคบก็จะแคบลง ในทางกลับกัน ถ้าเลนส์ที่ทางยาว Focus น้อยๆ ระยะชัดลึกก็จะมากขึ้นขึ้น  อันนี้สังเกตุได้ง่ายๆว่า ถ้าเราใช้เลนส์ Telephoto ถ่ายภาพ ฉากหลังมักจะเบลอมาก แต่ถ้าใช้เลนส์  Wide  ภาพจะยังคงคมชัดเกือบจะทั้งภาพ แม้ว่าจะตั้งค่ารูรับแสงค่าเดียวกันก็ตาม

นอกจากนั้นขนาดของ Sensor ก็มีผลต่อระยะชัดลึกของภาพเหมือนกัน ดังจะเห็นว่ากล้อง Compact ที่มีขนาด Sensor รับภาพเล็กมาก ถ่ายภาพมายังไงหลังก็ไม่เบลอ เหมือนกล้อง SLR เพราะฉะนั้นคนที่ถ่ายภาพด้วยกล้อง compact ถ้าหากทำตาม 3 ขึ้นตอนที่กล่าวมาแล้วคือ ใช้รูรับแสงกว้างๆ , Zoom มากๆ และเขยิบเข้าไปใกล้ๆตัวแบบมากๆ แล้วก็ยังไม่ได้ภาพที่น่าพอใจ ก็คงต้องแนะนำให้ลองมองหาฉากหลังที่อยู่ห่างจากตัวแบบมากๆ หรือลองมองหาฉากหลังเรียบๆ ที่มีความเปรียบต่างต่ำ มาใช้ช่วยให้ตัวแบบมีความโดดเด่นมากขึ้นแทน

มารู้จักกับกล้องดิจิตอลเเบบเบื้องต้นกันก่อนดีกว่า

         เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวด้วยระบบดิจิตอล มีลักษณะเหมือนกล้องที่ใช้ฟิล์ม เพียงแต่ใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพแทนฟิล์ม กล้อง D-SLR มักนำตัวกล้องที่ใช้ฟิล์มแบบ 35mm. SLR มาดัดแปลงให้เป็นกล้องดิจิตอล โดยเปลี่ยนฝาหลัง และแทนที่ฟิล์มด้วยเซ็นเซอร์รับภาพ ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
  1. เซ็นเซอร์รับภาพ หรือเรียกว่า Image Sensor ใช้ในการรับสัญญาณภาพ แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัล
  2. Exposure modes ใช้ในการเปลี่ยนโหมดการถ่าย หรือ โหมดการทำงาน
  3. ปุ่มกดชัตเตอร์ ใช้ในการสั่งให้ชัตเตอร์ทำงาน
  4. แฟลช ใช้ในการเพิ่มแสงให้ภาพ หรือ ทำให้เกิดแสงสะท้อน เป็นประกายในตา
  5. Hot Shoe ในกรณีที่แฟลตในตัวเครื่องไม่เพียงพอสามารถต่อเพิ่มแฟลตได้
  6. ไฟแสดงสถานะการตั้งเวลาถ่ายภาพ เป็นไฟLEDกระพริบตามเวลาการตั้งถ่ายภาพ
  7. เลนส์ถ่ายภาพ มีหลายชนิด ตามการใช้งาน และ ชนิดของ Lens mount
  8. ปุ่มเปิดปิด ใช้สำหรับเปิดปิดกล้อง
  9. เซลล์วัดแสงแฟลต เป็นอุปกรณ์ทำจาก CCD ใช้วัดแสงจากวัตถุเพื่อชดเชยแฟลต และตั้งค่า Guide Number
  10. ช่องมองภาพ ใช้สำหรับมองภาพ ซึ่งภาพจะถูกสะท้อนผ่านกระจกสะท้อน ที่อยู่ด้านหน้าเซ็นเซอร์รับภาพ
  11. USB Socket เป็นช่องสำหรับเสียบสายยูเอสบีเพื่อย้ายข้อมูลจากกล้องไปยังคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ
  12. หน้าจอLCD สำหรับแสดงภาพ และการตั้งค่า โดยกล้องบางรุ่น จะมีหน้าจอแยกกัน เพื่อแสดงรายละเอียด ที่แตกต่างกัน
  13. วงล้อปรับค่า เป็นวงล้อด้านบนของกล้อง ใช้สำหรับปรับค่าโดยเฉพาะ เช่น รูรับแสง ค่าชดเชยแสง
  14. วงล้อโฟกัส เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับระยะโฟกัสของเลนส์
  15. วงล้อซูม เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับอัตราขยายของเลนส์



     

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogเเห่งการถ่ายภาพ

Blog ที่จะเเนะนำเทคนิคการถ่ายภาพใหม่ๆเพื่อเติมความสวยงามให้เเก่ผูที่รักการถ่ายภาพ