เทคนิคการถ่ายเเสงลอดต้นไม้

1. จากภาพที่เห็นจริงๆ คือ มองตาเปล่าก็เห็นเป็นลำแสงอย่างนั้น แต่การที่ทำให้เกิดลำแสงอย่างนั้นก็เกิดจากลำแสงที่สาดลงมาเต็มๆ แล้ว เล็ดลอดผ่านใบไม้และกลีบเมฆลงมา แต่ก็ยังไม่พอ มันจะต้องเกิดจากการมีหมอก ควัน หรือฝุ่น เพื่อให้ลำแสงเหล่านั้นไปกระทบแล้วก็จะเห็นลำแสงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

2. จากกล้อง คือ จะต้องมีการเซ็ตค่า Aperture (F) ให้หน้ากล้องเปิดรับแสงแคบๆ เช่น สัก F 8-11 (ตัวเลขมากหน้ากล้องแคบ ตัวเลขน้อยหน้ากล้องกว้าง) ส่วน ISO และ Shutter Speed นั้น แล้วแต่ความเหมาะสม

เทคนิคการถ่ายพลุ

อันดับแรกคือต้องมีขาตั้งกล้อง (ถ้าอันดับแรกคือต้องมีกล้อง นี่คืออันดับที่สอง) เพราะเป็นอันแน่นอนว่า เราต้องเปิดชัตเตอร์มากกว่า 2 วินาทีแน่นอนถ้าจะลองถือถ่ายด้วยมือล้วนๆ ก็ทายได้โดยไม่ต้องเดาว่าภาพเบลอ, สั่นแน่ๆ
สายลั่นชัตเตอร์ก็เป็นอีกสิ่งจำเป็น มันช่วยให้คุณได้ภาพคมกริบ และควบคุมการเปิด-ปิดชัตเตอร์ได้
อันดับต่อมา คุณต้องมีแบตเตอรี่ที่ชาร์ตไฟเต็มเปี่ยม หรือเตรียมแบตเตอรี่สำรองเอาไว้ เพราะการเปิดหน้ากล้องนานนั้น เปลืองแบตเตอรี่ค่อนข้างมาก และการเซฟภาพจากบัฟเฟอร์ลงสู่การ์ดก็ใช้พลังงานพอสมควรทีเดียว คุณคงไม่อยากเจอว่าถ่ายได้ไม่ถึง 10 ภาพแล้วแบตหมดหรอกนะ ที่สำคัญพลุอันอลังการมักจะอยู่ในชุดท้ายๆ เสียด้วยสิ
ตั้ง ISO ไว้ที่ 100 ถ้าเป็นไปได้ ("ควรจะ" เป็นอย่างยิ่งเพื่อคุณภาพของภาพ)จะใช้ ISO ที่สูงกว่านี้ก็ได้ แต่ท้องฟ้าที่เป็นฉากหลังจะไกลความเป็นสีดำออกไปทุกทีแถมคุณต้องมาผจญกับ Noise ในภายหลังอีกด้วย
รูรับแสง (f stop) ลองเอาหลักการนี้ไปใช้ดู...

ISO 50 ใช้ f/5.6-f/8
ISO 100 ใช้ f/8-f/11
ISO 200 ใช้ f/11-f/22


ควรวางระยะโฟกัสที่พลุ ไม่ควรใช้โฟกัสที่ Infinity ถ้าจะให้มีองค์ประกอบอื่นเป็นวัตถุ Silhouette ก็โฟกัสที่วัตถุนั้น เมื่อโฟกัสได้แล้วอย่าลืมปิดระบบออโต้โฟกัส มิฉะนั้นเลนส์ของคุณจะวิ่งจับโฟกัสไปทั่วระหว่างการแสดงพลุ
ตำแหน่งของคุณ ถ้าเป็นไปได้ควรที่จะอยู่เหนือลม เพราะในการแสดงพลุนั้นมักจะมีควันมาก (จากตัวพลุ) ควันอาจจะรบกวนภาพของคุณหากคุณอยู่ใต้ลมและพัดควันเข้าหาคุณ ดีไม่ดีก็เข้าตากันให้ปวดแสบปวดร้อนเอาได้ง่ายๆ
ควรพกไฟฉายเล็กๆ ไปด้วยเพราะคุณอาจจะต้องใช้ในการปรับตั้งกล้อง
เมื่อพลุชุดแรกถูกยิงขึ้นฟ้า อย่าเพิ่งรีบถ่ายภาพ ให้คุณจัดการปรับตำแหน่งกล้อง,ปรับตั้งเลนส์+จัดองค์ประกอบภาพ ถ้าเป็นไปได้รีบหาตำแหน่งที่ดีที่สุด กรณีนี้เลนส์ซูมทั้งหลายจะช่วยคุณได้มากในการจัดภาพ, จัดตำแหน่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องคำนึงถึงมุมภาพและระยะห่างด้วยในการเลือกใช้เลนส์
เมื่อพลุชุดที่สองถูกยิงขึ้นฟ้า คุณควรรอจังหวะที่ชุดแรกดับหมดแล้ว จึงเริ่มกดชัตเตอร์ ใช้ชัตเตอร์ "B" โดยเปิดชัตเตอร์ค้างไว้ ปิดชัตเตอร์เมื่อคุณต้องการแล้วดูผลว่าคุณควรเปิดชัตเตอร์นานเท่าไหร่ดี
บางทีคุณอาจลองเปิดหน้ากล้องสัก 30 วินาทีดูก็ได้
หากไม่รู้ว่าจะเริ่มกดชัตเตอร์ตอนใหนดี? ลองเอาเทคนิคนี้ไปใช้ดูกดชัตเตอร์ เมื่อคุณได้ยินเสียงพลุถูกยิงขึ้นฟ้า ถ้าคุณอยู่ห่างพอ (โดยมากมักเป็นเช่นนั้น) ด้วยความที่เสียงเดินทางมาช้ากว่าแสง เมื่อคุณเริ่มกดชัตเตอร์(ได้ยินเสียงพลุยิง) ตัวพลุก็ขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าเตรียมตัวจะแตกออกแล้ว คุณก็จะไม่พลาดช็อตเด็ดแน่ๆ
หากต้องการจำนวนพลุมากๆ ให้ลองใช้ผ้าดำคลุมหน้ากล้องเมื่อบันทึกภาพลูกที่ 4-5-6 แล้ว เอาผ้าดำคลุมเลนส์เพื่อหยุดการรับแสง รอจนพลุลูกต่อไปขึ้นสู่ฟ้าค่อยเอาผ้าออกเพื่อเปิดรับแสง(ภาพของพลุ) เข้ามาเพิ่มอีก สิ่งที่ต้องระวังคือต้องไม่ให้เกิดการสะเทือนไปถึงกล้องและเลนส์ ไม่อย่างนั้นภาพของคุณก็เบลอแน่ๆ

 

เทคนิคการถ่ายภาพระเบิดซูม

หนึ่งในเทคนิคที่ท้าทายและค่อนข้างฮือฮาเป็นอย่างมากในอดีตก็คือ การถ่ายภาพแบบ "ระเบิดซูม" ซึ่งเป็นวิธีเน้นวัตถุตัวแบบให้โดเด่นด้วยลักษณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างในภาพพุ่งรวมศูนย์เข้าหาวัตถุกลางภาพด้วยความเร็วสูง
วิธีการบันทึกภาพแบบนี้ก้ำกึ่งอยู่ระหว่างความยากและความง่าย โดยตัวอุปกรณ์เองแล้วไม่มีวิธีอะไรซับซ้อนมากนัก แต่ความยากอยู่ที่ความนิ่งของมือผู้ถ่ายภาพเป็นสำคัญ แต่ถ้าฝึกจนกระทั่งชำนาญแล้ว ก็จะแทบสั่งได้ในทุกสถานการณ์เลยทีเดียว

อุปกรณ์บันทึกภาพเทคนิคระเบิดซูม

  • เลนส์ซูมในช่วงต่างๆ
  • ขาตั้งกล้อง
ที่สำคัญที่สุดก็คือเลนส์ซูม เพราะเป็นการใช้คุณสมบัติในการเปลี่ยนระยะของเลนส์ชนิดนี้โดยตรง ส่วนเลนส์ฟิกซ์หรือเลนส์ที่มีระยะตายตัวจะไม่สามารถใช้เทคนิคนี้ได้
ช่วงซูมที่สามารถสร้างความตื่นตาให้กับภาพได้มากก็คือช่วงซูมเทเลโฟโต้ แต่ก็จะเป็นช่วงซูมที่ถ่ายภาพค่อนข้างยากเนื่องจากอาจเกิดการสั่นไหวอันจะทำให้ภาพเกิดอาการเบลอได้ง่าย

วิธีการถ่ายภาพ

เลือกใช้สปีดชัตเตอร์ช้าถึงปานกลางเช่น 1/80, 1/40 sec. หรือต่ำลงไปเรื่อยๆ โดยใช้ขาตั้งกล้องช่วยจับกล้องให้นิ่ง จับโฟกัสไปที่วัตถุตัวแบบแล้วปรับมาเป็นระบบ Manual focus เพื่อล็อคโฟกัสให้อยู่กับที่ ตั้งค่ารูรับแสงและค่า ISO ให้มีค่าแสงที่พอดี(สัมพันธ์กับค่าสปีดชัตเตอร์) จากนั้นก็กดถ่ายภาพ ในขณะทีี่ม่านชัตเตอร์เปิดรับแสงอยู่นั้นก็ให้หมุนวงแหวนปรับซูมเปลี่ยนระยะด้วยความรวดเร็วก่อนที่ม่านชัตเตอร์จะปิด หากกล้องและเลนส์ไม่มีการสั่นไหว วัตถุกลางภาพจะคมชัดสวยงามในขณะที่วัตถุอื่นรอบด้านจะเบลอเป็นเส้นพุ่งเข้าหาส่วนกลาง        
ในขณะที่ถ่ายภาพแบบนี้มักจะเกิดอาการภาพสั่นอยู่เสมอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากลักษณะการบิดหมุนวงแหวนซูม นั่นคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดสำหรับการถ่ายภาพระเบิดซูม


5 เคล็ดลับดีๆ สำหรับการถ่ายภาพกลุ่มของคุณ

1. ลืมวิธีปฎิบัติเดิมๆ ไปซะ...
        การถ่ายภาพหมู่ส่วนใหญ่ มีประเพณีนิยมอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนเลย นั้นก็คือการนับถอยหลังก่อนถ่ายภาพลองได้ยืนอยู่หลังกล้องเพื่อค่อยบันทึกภาพ ก็มักจะมีการนับ 1 - 2 - 3 กดชัตเตอร์ หรือ 3 - 2 - 1 กดชัตเตอร์โดยอัตโนมัติกัน...ลืมวิธีการนี้ไปซะ หากอยากได้ภาพกลุ่มที่ตื่นตาตื่นใจ และผลที่จะได้นั้นก็จะทำให้ประหลาดใจอีก เพราะทุกคนจะดูเป็นธรรมชาติกว่า
2. เวลาคือทุกสิ่ง...เวลาที่เหมาะสมจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างผลงามดีๆ ด้วยความเข้าใจในเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพมันจะช่วยสร้าง "perfect shot" ได้อย่างง่ายดาย
3. แสง, แสง และ แสง
แสงคือทุกสิ่ง เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการถ่ายภาพ ภาพที่ดูดีหรือภาพที่ดูน่ากลัวจะถูกกำหนดด้วยการควบคุมแสงของช่างภาพที่ชำนาญ และช่างภาพหลายๆ คนที่ขาดสิ่งนี้ นี่คือเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้ควบคุมแสง
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ต้องแน่ใจว่าแสงที่ส่องไปนั้น ไม่ทำให้เกิดเงาไปพาดลงบนใบหน้าคนอื่น
  • ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้แฟลช จะช่วยให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
  • ใช้การสะท้อนแสงช่วยกระจายแสงสิ

4. เรื่องราว ความเป็นมา...
สำหรับการถ่ายภาพแล้ว ฉากหลังนั้นเป็นตัวบอกเรื่องราวต่างๆ ของซับเจคได้เป็นอย่างดี หลายๆ ครั้งที่เราเลือกจะถ่ายภาพกลุ่มในห้องเล็กๆ หรือในสตูดิโอ ลองพาครอบครับหรือเพื่อนๆ ออกไปข้างนอกกัน แล้วจะได้มีพื้ที่ว่างมากกมายสำหรับการถ่ายภาพและยังบอกเล่าว่าครอบครัวหรือเพื่อนๆ นั้นไปไหนกันมาบ้าง และยังได้ใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติอีกด้วย


 
5. อย่ายึดติดกับพื้นดิน...

หากการถ่ายภาพหมู่ทำให้หงุดหงิดเพราะมุมมองที่ซ้ำซากจำเจแล้วละก็ ลองเลิกยึดติดกับพื้นดินสิ ไม่ใช่ให้ท้าทายกับกฏแรงโน้มถ่วงนะ
แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงมุมมองของคุณซะ ไม่ว่าจะขึ้ไปถ่ายภาพจากระเบียงบ้านชั้น 2 แล้วให้ทุกคนรออยู่ที่ชั้นล่าง
หรือจะคุกเข่าลงไป แล้วเงยกล้องขึ้นไปบนท้องฟ้าตามจินตนาการไป

เทคนิคการถ่ายภาพดวงไฟตอนกลางคืนให้แสงออกมาเป็นแฉกๆ(ไม่ง้อฟิลเตอร์)

เทคนิคนี้ง่ายมากครับ สิ่งที่ต้องเตรียมก็คือ กล้องดิจิตอล 1 ตัว (อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว) ขาตั้งกล้อง และ สายลั่นชัตเตอร์ครับ

สองสิ่งหลังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากครับ ขาดไม่ได้เลยด้วยเหตุผลดังนี้ครับ
  • ที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะการถ่ายภาพกลางคืนจะต้องใช้ Shutter Speed ที่ช้ามาก ทำให้ภาพสั่นไหวได้
  • สายลั่นชัตเตอร์นำมาใช้เวลาที่เรากดชัตเตอร์ เราจะได้ไม่ไปกระทบกระเทือนกล้องซึ่งทำให้เกิดภาพสั่นไหวได้ครับ
เทคนิคง่ายๆแต่ได้ผลที่จะนำเสนอก็คือ การใช้รูรับแสงให้เล็กที่สุดครับ
เล็กขนาดไหน?? ก็ให้เล็กกว่า F16 เป็นต้นไป ก็จะเริ่มเห็นเป็นแฉกแล้วครับ ยิ่งให้รูรับแสงเล็กเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นแฉกชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

10 วิธี การถ่ายภาพขาวดำ โดยกล้องดิจิตอล ให้มีประสิทธิภาพ

       การถ่ายภาพขาวดำไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เรารู้จักวิธีการเริ่มต้นที่ดีก็จะสามารถทำให้ภาพถ่ายที่เราจะนำไป ทำเป็นภาพขาวดำให้ออกมาสวยงามได้ง่ายขึ้น  การเตรียมภาพที่ดี รู้จักมุมมอง รู้จักโทนในการถ่ายภาพ รู้จักขั้นตอนต่างๆ เท่านี้คุณก็จะได้ภาพขาวดำไปอวดใครต่อใครแล้ว วิธีการมีดังนี้
  1.  ให้ถ่ายภาพด้วย RAW ? อธิบายง่ายๆ ก็คือ ให้กล้องมันเก็บรายละเอียดเอามาให้หมดแบบไม่บีบอัด ไม่เหมือนไฟล์ JPEG ที่ลดรายละเอียดลงเยอะเลย สังเกตกันง่ายๆ โดยไฟล์ raw ไฟล์จะใหญ่กว่า ฉะนั้นตั้งค่าในกล้องให้เป็น RAW เต็มความจุของกล้องไปเลย ง่ายๆ แค่นี้ล่ะ
  2. หาฟิลเตอร์ ND และ C-PL มาใส่ซะ - รีบไปซื้อมาใส่เลย โดยเจ้าตัว ND นี้ จะได้ใช้เวลาเราถ่ายท้องฟ้ากับพื้นดินที่ค่าแสงมันต่างกันมาก แบบว่าเราถ่ายฟ้าพอดี เอ๊ะ ทำไมพื้นดินมืด ถ่ายพื้นพอดี ฟ้าขาวอีก นั้นล่ะเอาไปใส่ซะ เพื่อให้มันลดค่าแสงให้ออกมาพอดี ทั้งท้องฟ้าและพื้นดินเลยง่ายมาก ส่วนฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (Polarizer filter) หรือเรียกง่ายๆ ว่า PL แล้วกัน ใส่แล้วทำให้ท้องฟ้าเข็มขึ้น เวลาเราเอามาทำขาวดำมันจะได้ค่าเปรียบต่างกันสวยเชียวล่ะ หรือใช้ถ่ายน้ำตกให้มันพลิ้วๆ ไหวๆ อีกอย่างมันลดแสงด้วยก็ดูดิมันมืดขนาดนั้น
  3. 3. ตั้งค่า ISO ให้ต่ำถึงต่ำที่สุด - ทำไมต้องต่ำ ก็เพราะเราจะเอาไปแต่งในโปรมแกรมแต่งภาพต่อไปไง และต้องให้กล้องเราถ่ายมาดีที่สุดแบบไม่เอา noise เพราะ noise หรือเกรนในสมัยฟิล์ม ทำใน PS สวยกว่า หลากหลายกว่าด้วย  เพราะฉะนั้นอย่าลืมขาตั้งนะจะบอกให้เพื่อความคมชัด
  4. 4. ระวังเวลาถ่ายภาพที่สภาพแสงแตกต่างกันเยอะ ?เราก็ทราบกันดีแล้ว ว่ากล้องดิจิตอลพอขาวหน่อยจะขาวหมดรายละเอียด แบบเนี่ยไม่ดี เราต้องระวัง ถ้าเราจะถ่ายลองหัดวัดแสง โดยใช้ระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุด หรือเฉพาะส่วนไปเลย ที่นี้เราก็เอาหลักวัดแสงโทนสว่างโทนมืดมาปรับ ง่ายๆ ถ้าถ่ายแล้วโทนสว่างก็ปรับชดเชยไปทางบวกสัก ? หรือ 1 stop หรือกลับกันถ้ามันโทนมืด เราก็ชดเชยไปทางลบสัก ครึ่ง ถึง 1 stop เช่นกัน แต่จะเท่าไรลองมองในจอ lcd ดู ฝึกหลายครั้ง ครั้งต่อไปนึกแล้วชดเชยตามได้เลยเชียว
  5. 5.  ตั้งค่าไวท์บาลานซ์ให้ถูก  ถ้าตอนแรกเราถ่ายเป็น RAW ไม่ต้องกลัว เรามาปรับภาพทีหลังในโปรแกรมได้ แต่ถ้าเราถ่ายแบบ JPEG ให้ตั้งให้ถูกตามคำแนะนำในกล้องหรือจำง่ายๆ ถ่ายกลางแจ้งตั้งเป็นdaylight เลย อันนี้มันจะมีผลต่อโทนเราอีกด้วยน่ะเจ้าไวท์บาลานซ์เนี่ย
  6. อย่าถ่ายด้วยโหมดขาวดำในกล้อง  อันนี้ห้ามเลย ให้ถ่ายด้วยภาพสีธรรมดาเนี่ยล่ะ แล้วเราก็ไปปรับแต่งในโปรแกรมแต่งภาพต่อไป ที่สำคัญจำไว้ว่า เวลาเราถ่ายเป็นขาวดำภาพจะออกเทากลางๆ ลองสังเกตดูแบบนี้โทนขาวดำก็ไม่ดีสิ อีกอย่างเวลาเราถ่ายสีเรายังนำไปใช้ได้อีก
  7. ปรับค่าในกล้องให้เป็นโหมดกลางๆ  ที่ให้ปรับกลางๆ สาเหตุเพราะเราต้องการถ่ายขาวดำให้มีโทนตั้งแต่มืดไปสว่างให้มันมากที่สุด เก็บรายละเอียดมาดีที่สุด เข้าไปเมนูในกล้องแต่ละคนแล้วปรับดังนี้  ?เริ่มด้วยการปิดระบบ Sharpening และระบบลด Noise ในเครื่องเป็นอันดับแรกเลย แล้วเลือกใช้ Colour Space เป็น Adobe 1998 (ผลทางด้านรับช่วงสี) และปรับค่า Saturation เป็นค่ากลาง แต่ต้องหลีกเลี่ยงการปรับตั้ง Contrast เพราะมันจะบีบโทนของภาพเราให้แคบ? แค่นี้ก็ได้โทนมาเยอะ
  8. ดูฮิสโตแกรมในเครื่อง ? เวลาถ่ายเสร็จลองดูฮิสโตแกรมไม่ว่าจะถ่ายเป็น RAW ไฟล์หรือ JPEG มันจะบอกภาพเราว่าถ่ายมืดไปหรือสว่างเกินไปได้ ง่ายๆ ถ้ามันเทไปซ้ายก็อาจจะภาพมืด ถ้ามันเทไปขวาก็อาจจะภาพสว่าง วิธีดีที่สุดดูให้มันอยู่กลางๆ และสม่ำเสมอนั้นล่ะดีที่สุดแล้ว ได้โทนมาครบด้วย จริงๆ มันต้องดูรวมทั้งภาพล่ะ
  9. ลองใส่ฟิลเตอร์ในตัวกล้อง  - สำหรับกล้องคอมแพ็ค หรือกล้องที่ไม่สามารถปรับเป็นโหมด RAW ได้ เพื่อ ความแปลกตา เพื่อโทนที่ดีขึ้น และทำให้ภาพขาวดำเราสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ และถ้าเราเข้าใจหลักพื้นฐานเรื่องโทนก็จะไปไกลอีก ลองหัดใส่แล้วถ่ายดูหลายๆ แบบ
  10. 10. หัดมองเป็นขาวดำ ? ก็คือมองและนึกว่าโลกนี้มันขาวดำมองแบบโทนหรือจำง่ายๆ ความเข้มที่ไล่จากดำไปเทาไปขาวนั้นล่ะเรียกว่าโทนแล้ว ดูว่าสีแดงโทนแบบไหน สีเขียวโทนแบบไหน สีนั้นสีนี้โทนแบบไหน เพราะขาวดำน่ะบางที่จากภาพสีที่เราคิดว่าสีจ๊าบๆเวลาแปลงเป็นขาวดำอาจจะโทน เท่ากันเลยก็ได้ อันนี้อยู่ที่การฝึกและเรียนรู้กันล่ะครับ

การจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย

         การจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้นการถ่ายภาพนั้นไม่ใช่เพียงแค่การยกกล้องมากดถ่ายภาพเท่านั้น แต่มันยังมีเรื่องราวของศิลปะแฝงอยู่ภายในมากมายซึ่งแน่นอนอันดับแรกเราต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมกล้อง ควบคุมแสงสีต่างๆ ตลอดจนรวมไปถึงความไวชัตเตอร์และรูรับแสง แต่เพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอที่จะสร้างภาพถ่ายที่สวยงามได้ การควบคุมกล้องให้ได้อย่างใจนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรกและเมื่อเรามีความชำนาญที่มากพอแล้วนั้น ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมซึ่งไม่ว่าเราจะใช้กล้องแบบใดก็ตามจะเป็น Cybershot หรือว่า Alpha สิ่งนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ตลอด สิ่งที่เรากำลังพูดถึงนั้นก็คือ “การจัดองค์ประกอบภาพ”


กฎสามส่วน

กฎนี้เป็นกฎง่ายๆของการจัดองค์ประกอบภาพสำหรบการถ่ายภาพ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในการถ่ายภาพทิวทัศน์นั้นเรามักชอบที่จะวางเส้นขอบฟ้าเอาไว้ตรงกลางภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรามีวิธีที่จะวางเส้นขอบฟ้าไว้ที่อื่นเพื่อที่จะทำให้ภาพนั้นน่าสนใจมากขึ้นได้ ซึ่งโดยหลักการแล้วนั้นให้เราทำการแบ่งพื้นที่ในภาพออกเป็นสามส่วน บน กลาง และด้านล่าง จากนั้นให้วางเส้นขอบฟ้าค่อนไปทางด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ ให้ท้องฟ้ากินพื้นที่ 1 หรือ 2 ส่วนก็ได้แล้วแต่สถานะการณ์ ซึ่งเราจะได้ภาพลักษณะที่เป็นดินสองส่วนฟ้าหนึ่งส่วน หรือฟ้าสองส่วนดินหนึ่งส่วนก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่น่าสนใจกว่าการแบ่งภาพแบบครึ่งๆ

จุดตัด 9 ช่อง

สำหรับภาพที่มีจุดสนใจในภาพนั้น โดยปกติแล้วเรามักจะวางจุดสนใจกันเอาไว้กลางภาพ ซึ่งในหลายๆครั้งจุดสนใจนั้นจะถูกลดความน่าสนใจลงไปเนื่องจากโดยส่วนอื่นๆบริเวณรอบข้างดึงความสนใจไป เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้กฎที่เรียกว่า “จุดตัด 9 ช่อง” โดยให้ทำการแบ่งภาพทั้งหมดเป็น 9 ช่อง แล้วเลือกวางจุดสนใจในบริเวณที่เป็นจุดที่เส้นแบ่งนั้นตัดกันซึงจะมีทั้งหมด 4 จุดด้วยกัน การวางจุดสนใจในภาพไว้ในลักษณะนี้นั้นจะทำให้จุดสนใจในภาพนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเด่นชัดมากยิ่งขึ้นดังภาพด้านล่าง
เส้นนำสายตาในบางครั้งการวางจุดสนใจในภาพอาจไม่ได้วางตามจุดตัด 9 ช่องก็ได้ แต่เราจะมีวิธีอื่นที่สร้างให้จุดนั้นๆกลายเป็นจุดสนใจในภาพได้โดยการ ใช้เส้นนำสายตาซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมนุษย์เราเห็นเส้นอะไรสักอย่างมักจะมองตามไปเสมอ และการมองตามเส้นนั้นๆไปจะดึงให้สายตาของผู้มองนั้นมองตามไปจนเจอกับจุดสนใจในภาพที่เราวางไว้ เส้นนำสายตานั้นจะเป็นอะไรก็ได้ในภาพที่มีลักษณะเป็นเส้น เช่น ถนน ขอบรั้ว หรืออะไรก็ได้ไม่จำกัดขอให้มีลักษณะเป็นเส้น และให้เส้นเหล่านั้นชี้ไปยังจุดสนใจที่เราได้ทำการวางเอาไว้ จะทำให้จุดสนใจในภาพที่เราวางเอาไว้เด่นขึ้นมาในทันที
การเหลือพื้นที่ในหลายๆครั้งนั้นเราจะพบปัญหาเกี่ยวกับพื้นทีส่วนอื่นๆในภาพว่าเราควรจะเหลือส่วนไหนอย่างไรดี หลักการนี้ก็เป็นหลักการง่ายๆโดยให้เราทำการเหลือพื้นที่ด้านเดียวกับจุดสนใจในภาพเพื่อให้คนดูภาพไม่รู้สึกอึดอัด เช่นถ้าหากหน้าคน รถ หรือว่าอะไรก็ตามหันไปทางไหนให้เราเหลือพื้นที่บริเวณนั้นเอาไว้ เพื่อให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัดและยังเหลือที่ว่างให้คิดหรือจินตนาการต่อได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป หลักการนี้เป็นหลักการง่ายๆที่ทำให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัด แต่ถ้าหากภาพนั้นต้องการสื่อถึงอารมณ์ให้รู้สึกอึดอัดก็ไม่จำเป็นต้องเหลือพื้นที่ก็ได้ แล้วแต่ว่าเราต้องการบอกอะไรคนดู
ใส่กรอบให้กับภาพหลักการนี้เป็นหลักการสร้างจุดสนใจให้กับภาพอีกอย่างหนึ่ง โดยให้เราหารอบประตูหน้าต่าง หรืออะไรก็ได้ที่มีลักษณะเป็นกรอบอาจจะสองด้านหรือว่าสี่ด้านก็ได้ แล้วจากนั้นก็นำจุดสนใจในภาพไปใส่ไว้ในกรอบนั้นๆ ผู้ชมภาพจะถูกบีบด้วยกรอบที่ซ้อนอยู่ในภาพให้มองไปยังจุดสนใจที่เราวางเอาไว้ ซึ่งจะเป็นการทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นอีกทางหนึ่งได้