เทคนิคการถ่ายภาพชัดลึก

ภาพชัดลึก คือภาพที่มีความชัดทั้งภาพทั้งวัตถุที่อยู่ด้านหน้าเเละด้านหลังมีความชัดเจนเท่ากันหมด

ปัจจัยที่มีผลต่อระยะชัดลึก (Depth of Field)

1 รูรับแสง (Aperture)  การปรับค่ารูรับแสงคือการปรับระยะชัดลึกด้วย ถ้าเราปรับค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้น (ค่า f น้อยลง) ค่าระยะชัดลึกก็จะน้อยลงด้วย ภาพก็จะหน้าชัดหลังเบลอหรือชัดตื้นมาก ในขณะที่ค่ารูรับแสงแคบๆ (ค่า f มาก) ค่าระยะชัดลึกก็จะมากขึ้น ภาพก็จะชัดไปทั้งภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ระยะชัดลึกน้อยๆ มักจะใช้กับการถ่ายภาพ Portrait เนื่องจากแยกตัวแบบออกจากฉากหลัง ทำให้ตัวแบบเด่นขึ้นได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ระยะชัดลึกมากๆ ก็มักจะใช้กับภาพถ่าย Landscape เนื่องจากภาพวิวทิวทัศน์นั้นเรามักจะต้องการความชัดลึกของทั้งภาพสูงนั่นเอง

2 ระยะห่างจากตัวเลนส์กับตัวแบบ ยิ่งเราเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นเท่าไหร่ ระยะชัดลึกจะยิ่งแคบลง และถ้าหากเราอยู่ไกลตัวแบบมากๆ ระยะชัดลึกก็จะเพิ่มขึ้น

3 ทางยาวโฟกัส (Focal Length) ยิ่งทางยาว Focus ของเลนส์มากๆ ระยะชัดลึกแคบก็จะแคบลง ในทางกลับกัน ถ้าเลนส์ที่ทางยาว Focus น้อยๆ ระยะชัดลึกก็จะมากขึ้นขึ้น  อันนี้สังเกตุได้ง่ายๆว่า ถ้าเราใช้เลนส์ Telephoto ถ่ายภาพ ฉากหลังมักจะเบลอมาก แต่ถ้าใช้เลนส์  Wide  ภาพจะยังคงคมชัดเกือบจะทั้งภาพ แม้ว่าจะตั้งค่ารูรับแสงค่าเดียวกันก็ตาม

นอกจากนั้นขนาดของ Sensor ก็มีผลต่อระยะชัดลึกของภาพเหมือนกัน ดังจะเห็นว่ากล้อง Compact ที่มีขนาด Sensor รับภาพเล็กมาก ถ่ายภาพมายังไงหลังก็ไม่เบลอ เหมือนกล้อง SLR เพราะฉะนั้นคนที่ถ่ายภาพด้วยกล้อง compact ถ้าหากทำตาม 3 ขึ้นตอนที่กล่าวมาแล้วคือ ใช้รูรับแสงกว้างๆ , Zoom มากๆ และเขยิบเข้าไปใกล้ๆตัวแบบมากๆ แล้วก็ยังไม่ได้ภาพที่น่าพอใจ ก็คงต้องแนะนำให้ลองมองหาฉากหลังที่อยู่ห่างจากตัวแบบมากๆ หรือลองมองหาฉากหลังเรียบๆ ที่มีความเปรียบต่างต่ำ มาใช้ช่วยให้ตัวแบบมีความโดดเด่นมากขึ้นแทน

1 ความคิดเห็น: