อันดับแรกคือต้องมีขาตั้งกล้อง (ถ้าอันดับแรกคือต้องมีกล้อง นี่คืออันดับที่สอง) เพราะเป็นอันแน่นอนว่า เราต้องเปิดชัตเตอร์มากกว่า 2 วินาทีแน่นอนถ้าจะลองถือถ่ายด้วยมือล้วนๆ ก็ทายได้โดยไม่ต้องเดาว่าภาพเบลอ, สั่นแน่ๆ
สายลั่นชัตเตอร์ก็เป็นอีกสิ่งจำเป็น มันช่วยให้คุณได้ภาพคมกริบ และควบคุมการเปิด-ปิดชัตเตอร์ได้
อันดับต่อมา คุณต้องมีแบตเตอรี่ที่ชาร์ตไฟเต็มเปี่ยม หรือเตรียมแบตเตอรี่สำรองเอาไว้ เพราะการเปิดหน้ากล้องนานนั้น เปลืองแบตเตอรี่ค่อนข้างมาก และการเซฟภาพจากบัฟเฟอร์ลงสู่การ์ดก็ใช้พลังงานพอสมควรทีเดียว คุณคงไม่อยากเจอว่าถ่ายได้ไม่ถึง 10 ภาพแล้วแบตหมดหรอกนะ ที่สำคัญพลุอันอลังการมักจะอยู่ในชุดท้ายๆ เสียด้วยสิ
ตั้ง ISO ไว้ที่ 100 ถ้าเป็นไปได้ ("ควรจะ" เป็นอย่างยิ่งเพื่อคุณภาพของภาพ)จะใช้ ISO ที่สูงกว่านี้ก็ได้ แต่ท้องฟ้าที่เป็นฉากหลังจะไกลความเป็นสีดำออกไปทุกทีแถมคุณต้องมาผจญกับ Noise ในภายหลังอีกด้วย
รูรับแสง (f stop) ลองเอาหลักการนี้ไปใช้ดู...
ISO 50 ใช้ f/5.6-f/8
ISO 100 ใช้ f/8-f/11
ISO 200 ใช้ f/11-f/22
ควรวางระยะโฟกัสที่พลุ ไม่ควรใช้โฟกัสที่ Infinity ถ้าจะให้มีองค์ประกอบอื่นเป็นวัตถุ Silhouette ก็โฟกัสที่วัตถุนั้น เมื่อโฟกัสได้แล้วอย่าลืมปิดระบบออโต้โฟกัส มิฉะนั้นเลนส์ของคุณจะวิ่งจับโฟกัสไปทั่วระหว่างการแสดงพลุ
ตำแหน่งของคุณ ถ้าเป็นไปได้ควรที่จะอยู่เหนือลม เพราะในการแสดงพลุนั้นมักจะมีควันมาก (จากตัวพลุ) ควันอาจจะรบกวนภาพของคุณหากคุณอยู่ใต้ลมและพัดควันเข้าหาคุณ ดีไม่ดีก็เข้าตากันให้ปวดแสบปวดร้อนเอาได้ง่ายๆ
ควรพกไฟฉายเล็กๆ ไปด้วยเพราะคุณอาจจะต้องใช้ในการปรับตั้งกล้อง
เมื่อพลุชุดแรกถูกยิงขึ้นฟ้า อย่าเพิ่งรีบถ่ายภาพ ให้คุณจัดการปรับตำแหน่งกล้อง,ปรับตั้งเลนส์+จัดองค์ประกอบภาพ ถ้าเป็นไปได้รีบหาตำแหน่งที่ดีที่สุด กรณีนี้เลนส์ซูมทั้งหลายจะช่วยคุณได้มากในการจัดภาพ, จัดตำแหน่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องคำนึงถึงมุมภาพและระยะห่างด้วยในการเลือกใช้เลนส์
เมื่อพลุชุดที่สองถูกยิงขึ้นฟ้า คุณควรรอจังหวะที่ชุดแรกดับหมดแล้ว จึงเริ่มกดชัตเตอร์ ใช้ชัตเตอร์ "B" โดยเปิดชัตเตอร์ค้างไว้ ปิดชัตเตอร์เมื่อคุณต้องการแล้วดูผลว่าคุณควรเปิดชัตเตอร์นานเท่าไหร่ดี
บางทีคุณอาจลองเปิดหน้ากล้องสัก 30 วินาทีดูก็ได้
หากไม่รู้ว่าจะเริ่มกดชัตเตอร์ตอนใหนดี? ลองเอาเทคนิคนี้ไปใช้ดูกดชัตเตอร์ เมื่อคุณได้ยินเสียงพลุถูกยิงขึ้นฟ้า ถ้าคุณอยู่ห่างพอ (โดยมากมักเป็นเช่นนั้น) ด้วยความที่เสียงเดินทางมาช้ากว่าแสง เมื่อคุณเริ่มกดชัตเตอร์(ได้ยินเสียงพลุยิง) ตัวพลุก็ขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าเตรียมตัวจะแตกออกแล้ว คุณก็จะไม่พลาดช็อตเด็ดแน่ๆ
หากต้องการจำนวนพลุมากๆ ให้ลองใช้ผ้าดำคลุมหน้ากล้องเมื่อบันทึกภาพลูกที่ 4-5-6 แล้ว เอาผ้าดำคลุมเลนส์เพื่อหยุดการรับแสง รอจนพลุลูกต่อไปขึ้นสู่ฟ้าค่อยเอาผ้าออกเพื่อเปิดรับแสง(ภาพของพลุ) เข้ามาเพิ่มอีก สิ่งที่ต้องระวังคือต้องไม่ให้เกิดการสะเทือนไปถึงกล้องและเลนส์ ไม่อย่างนั้นภาพของคุณก็เบลอแน่ๆ
สายลั่นชัตเตอร์ก็เป็นอีกสิ่งจำเป็น มันช่วยให้คุณได้ภาพคมกริบ และควบคุมการเปิด-ปิดชัตเตอร์ได้
อันดับต่อมา คุณต้องมีแบตเตอรี่ที่ชาร์ตไฟเต็มเปี่ยม หรือเตรียมแบตเตอรี่สำรองเอาไว้ เพราะการเปิดหน้ากล้องนานนั้น เปลืองแบตเตอรี่ค่อนข้างมาก และการเซฟภาพจากบัฟเฟอร์ลงสู่การ์ดก็ใช้พลังงานพอสมควรทีเดียว คุณคงไม่อยากเจอว่าถ่ายได้ไม่ถึง 10 ภาพแล้วแบตหมดหรอกนะ ที่สำคัญพลุอันอลังการมักจะอยู่ในชุดท้ายๆ เสียด้วยสิ
ตั้ง ISO ไว้ที่ 100 ถ้าเป็นไปได้ ("ควรจะ" เป็นอย่างยิ่งเพื่อคุณภาพของภาพ)จะใช้ ISO ที่สูงกว่านี้ก็ได้ แต่ท้องฟ้าที่เป็นฉากหลังจะไกลความเป็นสีดำออกไปทุกทีแถมคุณต้องมาผจญกับ Noise ในภายหลังอีกด้วย
รูรับแสง (f stop) ลองเอาหลักการนี้ไปใช้ดู...
ISO 50 ใช้ f/5.6-f/8
ISO 100 ใช้ f/8-f/11
ISO 200 ใช้ f/11-f/22
ควรวางระยะโฟกัสที่พลุ ไม่ควรใช้โฟกัสที่ Infinity ถ้าจะให้มีองค์ประกอบอื่นเป็นวัตถุ Silhouette ก็โฟกัสที่วัตถุนั้น เมื่อโฟกัสได้แล้วอย่าลืมปิดระบบออโต้โฟกัส มิฉะนั้นเลนส์ของคุณจะวิ่งจับโฟกัสไปทั่วระหว่างการแสดงพลุ
ตำแหน่งของคุณ ถ้าเป็นไปได้ควรที่จะอยู่เหนือลม เพราะในการแสดงพลุนั้นมักจะมีควันมาก (จากตัวพลุ) ควันอาจจะรบกวนภาพของคุณหากคุณอยู่ใต้ลมและพัดควันเข้าหาคุณ ดีไม่ดีก็เข้าตากันให้ปวดแสบปวดร้อนเอาได้ง่ายๆ
ควรพกไฟฉายเล็กๆ ไปด้วยเพราะคุณอาจจะต้องใช้ในการปรับตั้งกล้อง
เมื่อพลุชุดแรกถูกยิงขึ้นฟ้า อย่าเพิ่งรีบถ่ายภาพ ให้คุณจัดการปรับตำแหน่งกล้อง,ปรับตั้งเลนส์+จัดองค์ประกอบภาพ ถ้าเป็นไปได้รีบหาตำแหน่งที่ดีที่สุด กรณีนี้เลนส์ซูมทั้งหลายจะช่วยคุณได้มากในการจัดภาพ, จัดตำแหน่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องคำนึงถึงมุมภาพและระยะห่างด้วยในการเลือกใช้เลนส์
เมื่อพลุชุดที่สองถูกยิงขึ้นฟ้า คุณควรรอจังหวะที่ชุดแรกดับหมดแล้ว จึงเริ่มกดชัตเตอร์ ใช้ชัตเตอร์ "B" โดยเปิดชัตเตอร์ค้างไว้ ปิดชัตเตอร์เมื่อคุณต้องการแล้วดูผลว่าคุณควรเปิดชัตเตอร์นานเท่าไหร่ดี
บางทีคุณอาจลองเปิดหน้ากล้องสัก 30 วินาทีดูก็ได้
หากไม่รู้ว่าจะเริ่มกดชัตเตอร์ตอนใหนดี? ลองเอาเทคนิคนี้ไปใช้ดูกดชัตเตอร์ เมื่อคุณได้ยินเสียงพลุถูกยิงขึ้นฟ้า ถ้าคุณอยู่ห่างพอ (โดยมากมักเป็นเช่นนั้น) ด้วยความที่เสียงเดินทางมาช้ากว่าแสง เมื่อคุณเริ่มกดชัตเตอร์(ได้ยินเสียงพลุยิง) ตัวพลุก็ขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าเตรียมตัวจะแตกออกแล้ว คุณก็จะไม่พลาดช็อตเด็ดแน่ๆ
หากต้องการจำนวนพลุมากๆ ให้ลองใช้ผ้าดำคลุมหน้ากล้องเมื่อบันทึกภาพลูกที่ 4-5-6 แล้ว เอาผ้าดำคลุมเลนส์เพื่อหยุดการรับแสง รอจนพลุลูกต่อไปขึ้นสู่ฟ้าค่อยเอาผ้าออกเพื่อเปิดรับแสง(ภาพของพลุ) เข้ามาเพิ่มอีก สิ่งที่ต้องระวังคือต้องไม่ให้เกิดการสะเทือนไปถึงกล้องและเลนส์ ไม่อย่างนั้นภาพของคุณก็เบลอแน่ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น